(ตอนที่ 1) ความเชื่อมโยงของเส้นทางสายไหมโบราณสู่ความรุ่งเรืองในสุวรรณภูมิประเทศตุรกี


 

(ตอนที่ 1) ความเชื่อมโยงของเส้นทางสายไหมโบราณสู่ความรุ่งเรืองในสุวรรณภูมิประเทศตุรกี

ความเชื่อมโยงของเส้นทางสายไหมโบราณในประเทศตุรกี (เมืองอีซเมียร์ ถึง เมืองอิสตันบูล) (เมืองอีซเมียร์)

จากการลงสำรวจพื้นที่ในประเทศจีน และพบว่ามีหลักฐานสำคัญ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางการค้าจากโลกตะวันออก สู่โลกตะวันตกมานานนับหลายพันปี โดยมีหลักฐานเด่นชัด คือ การค้าบนเส้นทางสายไหมทางบก และทางทะเล ซึ่งเมืองสำคัญทางการค้าของโลกตะวันตกโบราณนั้น คือ คาบสมุทรอนาโตเลีย (หรือที่เรียกว่าเอเชียไมเนอร์) ซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตุรกี ที่เป็นเขตเชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชียและยุโรป ดังนั้น เพื่อให้การสำรวจข้อมูลเส้นทางการค้าโบราณที่มีความเชื่อมโยงสู่ความรุ่งเรืองในสุวรรณภูมินั้น ทีมศึกษาจึงเลือกพื้นที่ประเทศตุรกี เป็นพื้นที่ศึกษาอีก 1 พื้นที่ โดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

เมืองอีซเมียร์ เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณเอฟฟิซุส ซึ่งเป็นเมืองท่าการค้า และเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองที่สำคัญในยุคสมัยกรีกและโรมัน ที่มีอายุมากกว่า 2,500 ปี หรือ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มน้ำ ติดทะเลอีเจียน (Aegean Sea) โดยเป็นสถานที่ที่มีชัยภูมิที่ได้เปรียบทั้งทางการรบ และการค้า

โดยจากการสำรวจภายในพื้นที่เมืองโบราณเอฟฟิซุส พบว่าเป็นเมืองที่ยังคงหลงเหลือความสมบูรณ์ของสถาปัตยกรรมที่สำคัญของเมืองไว้ได้อย่างดี ได้แก่ เสาอาคารศิลปะแบบโกธิค ระบบชลประทานภายในเมืองในลักษณะท่อส่งน้ำดินเผา โรงละครกลางแจ้ง (Amphitheatre) และห้องสมุดโบราณที่มีวิธีเก็บรักษาหนังสือไว้ได้เป็นอย่างดี ก่อสร้างและตกแต่งด้วยศิลปะแบบเฮเลนนิสติคที่มีความอ่อนหวานและฝีมือประณีต ซึ่งหลักฐานที่หลงเหลืออยู่นั้นเป็นสิ่งที่สามารถยินยันได้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองในยุคสมัยโบราณ

นอกจากเป็นเมืองสำคัญทางด้านการปกครอง และการค้าแล้วนั้น เมืองเอฟฟิซุสเป็นเมืองที่นับถือศาสนาคริสต์ในสมัยนั้นอีกด้วย แต่เมื่อเข้าสู่ในสมัยจักรวรรดิออโตมัน มีการเปลี่ยนแปลงของศาสนาจากศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาอิสลาม ซึ่งมีหลักฐานที่สำคัญที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลง ในสุเหร่าเซนต์โซเฟีย (Mosque of Hagia Sophia) ที่เปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลามอย่างชัดเจน โดยมีการปิดทับสัญลักษณ์ทางศาสนาคริสต์ทั้งหมด แต่เมื่อเวลาผ่านไป วัสดุปิดทับเหล่านั้นหลุดร่อนออกมา จนพบว่า สถานที่แห่งนี้ เป็นสถานที่สำคัณของทั้ง 2 ศาสนา รัฐบาลจึงปรับเปลี่ยนสถานที่แห่งนี้ให้กลายเป้นพิพิธภัณฑ์ทางศาสนา เพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทระหว่าง 2 ศาสนาในประเทศ

รวมทั้ง ศาสนาสถานที่สำคัญของศาสนาอิสลามที่มีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในช่วงจักรวรรดิออโตมันรุ่งเรือง ได้แก่ สุเหร่าสีน้ำเงิน “บลูมอสก์” (Blue Mosque) เป็นสุเหร่าที่มีแรงบันดาลใจมาจากการสร้างที่ต้องการเอาชนะและต้องการให้มีขนาดใหญ่กว่าวิหารเซนต์โซเฟียในสมัยนั้น โดยในปัจจุบันยังคงใช้เป็นหอสวดมนต์ของชาวเมืองอิสตันบูลอยู่อย่างต่อเนื่อง

จากการเปลี่ยนแปลงของสถานที่สำคัญทางศาสนา ทางทีมงานได้พบสถานที่สำคัญของศาสนาคริสต์ ในสมัยออตโตมัน ซึ่งอยู่ในพื้นที่พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเกอเรเม่ (Goreme Open Air Museum) เป็นสถานที่ที่เป็นหลบเลี่ยงการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในสมัยนั้น โดยเป็นการขุดเจาะภูเขาเพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัย และเมื่อเข้าสำรวจ ทีมงานได้พบกับโบสถ์คริสต์ในพื้นที่ทั้งสิ้น 3 โบสถ์ โดยมีสัญลักษณ์ไม้กางเขน และภาพจิตกรรมที่บ่งบอกถึงพิธีกรรมทางศาสานคริสต์ รวมทั้งการหลบซ่อนในบริเวณใต้ดิน โดยพบหลักฐานที่เมืองคัปปาโดเซีย ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ คือ นครใต้ดินไคมัคลึ (Underground City of Derinkuyu or Kaymakli) ซึ่งเป็นการขุดโพรงใต้ดินลึกถึง 85 เมตร แบ่งออกเป็น 10 ชั้น  เพื่อใช้เป็นที่หลบภัยจากข้าศึกศัตรู ในยามสงคราม ของชาวคัปปาโดเจียในอดีต โดยทั้งจากชาวอาหรับจากทางตะวันออกที่ต้องการเข้ามายึดครองดินแดนนี้เพื่อหวังผลประโยชน์ทางการค้า และชาวโรมันจากทางตะวันตกด้วยเหตุผลเดียวกัน รวมทั้งต้องการที่จะหยุดยั้งการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในดินแดนแถบนี้ด้วย

(ติดตามต่อในตอนที่ 2)