บทที่ 1

สุวรรณภูมิ ภูมิอารยธรรมเชื่อมโลก

“สุวรรณภูมิ” เป็นดินแดนที่ถูกกล่าวถึง และมีการศึกษา ค้นคว้าต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
การสร้างความเชื่อมโยงคุณค่าจากความรุ่งเรืองของดินแดนสุวรรณภูมิโดยถ่ายทอดเรื่องราวผ่านเทคโนโลยีอวกาศ
และภูมิสารสนเทศ รวมถึงการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์และโบราณคดี สู่การพลิกฟื้นอารยธรรม
และการรังสรรค์คุณค่าแห่ง"สุวรรณภูมิ" ที่เหนือมิติแห่งเวลา

หนังสือ

“สุวรรณภูมิ ภูมิอารยธรรม เชื่อมโยงโลก
(Suvarnabhumi Terra Incognita)”

เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการภูมิอารยธรรมสุวรรณภูมิด้วยเทคโนโลยี อวกาศและภูมิสารสนเทศ” ได้แรงบันดาลใจจาก พระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ที่ทรงหมุดหมาย “สุวรรณภูมิ” ทั้งในเชิงพื้นที่ เวลา และคุณค่า โดยพระราชทานเป็นนามมงคล ท่าอากาศยานสากลแห่งที่สองของประเทศไทย โครงการนี้มีเป้าหมายในการ ค้นหาและวิเคราะห์เชื่อมโยงคุณค่าของดินแดนที่ถูกกล่าวอ้างถึงในเชิง “นามธรรมแห่งความคิด”ซึ่งเป็นเชิงสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่

สุวรรณภูมิ

เป้าหมายของพระมหาชนก

ในพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๙ โดยมุ่งเน้นในความคิดหลักของชาดกที่ให้เห็นว่าความเพียรเป็นสิ่งสำคัญที่สุดนั้น กล่าวถึงพระมหาชนกซึ่งเป็นพระราชโอรสของอดีตพระราชาแห่งกรุงมิถิลา แคว้นวิเทหะ ต้องการกลับไปเอาราชสมบัติซึ่งเป็นของพระบิดา จึงวางแผนเดินทางนำสินค้าไปค้าขายที่เมืองสุวรรณภูมิเพื่อนำทรัพย์เป็นอันมากมา โดยได้ทูลขอแก้วมณี แก้วมุกดาและแก้ววิเชียร ซึ่งพระมารดาได้มาเมื่อครั้งออกจากกรุงมิถิลากึ่งหนึ่งจำหน่ายออกเป็นสินค้าขนขึ้นเรือพร้อมด้วยพวกพาณิชเพื่อเดินทางไปค้ายังสุวรรณภูมิ จนกระทั่งเรือแตก แต่ด้วยพระปัญญาและความเพียร จึงสามารถกลับมาเอาราชสมบัติกรุงมิถิลา นำความเจริญมั่งคั่งด้วยพระปรีชาสามารถ

หนึ่ง ศตวรรษ ของสุวรรณภูมิศึกษา

สุวรรณภูมิในบริบทกว้าง และการเล่าขาน

หากถามว่า ถ้าผู้คนจะค้นหาสุวรรณภูมิในโลกสมัยนี้ สารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย น่าจะ คือคำตอบในสารานุกรมเสรี ณ ขณะทำการสืบค้น ระบุว่ามี 3 สุวรรณภูมิ คือ ท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ และ อำเภอสุวรรณภูมิ ในประเทศไทย กับ อีก สุวรรณภูมิ ที่มีเป็นหลายภาษา ทั้งสันสกฤต บาลี มาเลย์ เมียมา เขมร และ ไทย หมายถึง ดินแดน ที่ถูกกล่าวถึงในหลายแหล่ง ข้อมูลโบราณ อาทิเช่น คัมภีร์ มหาวงศ์ของลังกา บางชาดก ในพระพทุธศาสนา และหนังสือมิลินทปัญหาที่ พระเจ้าเมนานเดอร์มหาราชสนทนากับพระนาคเสนเถระ

โดยสารานุกรมเสรีนี้ได้ หยิบยกหลายทฤษฎีที่มีการนามาอธิบายถึงสุวรรณภูมิ ไม่ว่า จะเป็นทฤษฎีคาบสมุทร และหมู่เกาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สุวรรณภูมิในบันทึกประวัติศาสตร์ และหลักฐานทางโบราณคดี

สุวรรณภูมิถูกพบในบันทึกประวัติศาสตร์ และหลักฐานทางโบราณคดีทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ซึ่งในวงวิชาการไทย มีข้อคิดความเห็นว่าสุวรรณภูมินั้นมีจริงผ่านพัฒนาการมาแต่ก่อนประวัติศาสตร์หลายพันปี จนอาจถึง ระดับนคร รัฐ หรืออาณาจักร เมื่อประมาณ 2,000 ปีที่แล้ว มีที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ที่เรียกว่า “อินโดจีน” ระหว่างอินเดียกับจีน ตั้งแต่เขตลุ่มน้ำพรหมบุตร ผ่านดินแดนเมียนมา มอญ ไทย ไปตลอดแหลมมลายู ไปจน ถึงเขตแม่น้ำโขงรวมถึงในดินแดนยูนนาน รวมทั้งมีข้อเสนอในชื่อโลกแห่งสุวรรณภูมิที่มีภาคพื้นดินเป็นศูนย์กลางแวดล้อม ด้วยอ่าวเบงกอลและอ่าวเมาะตะมะ แหลมมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย และทะเลจีนใต้ มีการกำหนดอายุว่าอยู่ ในช่วง พุทธศตวรรษที่ 2 ซึ่งสัมพันธ์กับช่วงเวลาของ “สุวรรณภูมิ”

ในวงวิชาการต่างประเทศ ได้ใช้หลักฐานบันทึกและเรื่องราวบอกเล่าทั้งฝ่ายกรีก โรมัน อาหรับ อินเดียและจีน ซึ่งให้ รายละเอียดถึงเส้นทาง สินค้า ตลอดจน เรื่องราวประกอบอื่นอย่างพิสดารที่เชื่อได้ว่ามีสุวรรณภูมิแล้วเมื่อประมาณ 2,000 ปี ที่แล้วในหลายชื่อที่เกี่ยวพันกับทอง คือ สุวรรณ (อินเดีย) Chryse (กรีก) Aureaus (โรมัน) จิน (จีน) โดยอาจเป็นเกาะ ทวีป หรือเมือง ที่มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ด้วยสิ่งมีค่าหายากจากแผ่นดิน ท้องทะเลและที่นำมาจากถิ่นอื่น เช่น ทองคำ ของป่า ของจากทะเลและผ้า ตั้งอยู่เลยจากลุ่มน้ำคงคาก่อนถึงจีน อาจแบ่งได้เป็น 2 ขอบเขต คือ ภาคพื้นแผ่นดิน กับ คาบสมุทร และหมู่เกาะ ที่เรียกคาบเกี่ยวกันว่าสุวรรณภูมิ สันนิษฐาน ว่าอยู่ที่เมียนมา คาบสมุทรไทย-มาเลย์และสุมาตรา กับ สุวรรณทวีป หมายถึงคาบสมุทรไทย-มาเลย์ สุมาตราและเกาะอื่นๆ

สุวรรณภูมิ : ข้อมูลใหม่ (2561)

การศึกษาค้นคว้าเรื่องสุวรรณภูมิทั้งในและต่าง ประเทศในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแม้ยังไม่อาจสรุปว่าสุวรรณภูมิ อยู่ที่ใด แต่ภาพความเป็นสุวรรณภูมิก็มีความชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ มีความเป็นไปได้ว่าอยู่บริเวณใดบ้างด้วยประจักษ์พยาน และหลักฐานใด โดยในการศึกษาครั้งนี้ ได้รับผลงานการศึกษาล่าสุดเพื่อการนี้ จากนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และ โบราณคดีชั้นนำของไทยและโลกที่ประกอบด้วยข้อคิดและหลายหลักฐานการค้นพบใหม่ ซึ่งมีความก้าวหน้าจากผลการ ศึกษาวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์โบราณคดีเพิ่มเติม รวมทั้งการค้นพบใหม่ต่างๆ มากมาย

สุวรรณภูมิ : คุณค่า 5 มิติ

เมื่อประมวลจากผลงานทั้งหลายข้างต้นที่เริ่มมีการศึกษาค้นคว้าและรายงานทั้งภายในและต่าง ประเทศในระยะ 100 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเริ่มจากการสืบสวนจากนิทานชาดกของอินเดีย ตลอดจนพงศาวดาร และบันทึกต่างๆ ทั้งของอินเดีย ศรีลังกา กรีก โรมัน และจีน โดยยังมีส่วนของฝ่ายเปอร์เซียและอาระเบีย น้อยมากก่อนที่จะเป็นการศึกษาค้นคว้าและสืบเสาะเชิงประวัติศาสตร์ เทียบเคียงกับวิทยาการต่างๆ โดยเฉพาะภูมิศาสตร์ภาษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมวิทยาตลอดถึง เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และ การเมือง ตามด้วยวิทยาการด้านหลักฐานโบราณคดีและวิธีวิทยาศาสตร์ต่างๆ ในระยะหลัง

อยู่บนสะพานเชื่อมโลกที่เต็มไปด้วยของดีมีค่า
: ด้านภูมิศาสตร์กายภาพและทรัพยากร

(Geography Natural and Resources)

ด้วยธรณีสัณฐานที่มีลักษณะพิเศษหลายประการ กล่าวคือ เป็น คาบสมุทร ที่อยู่ระหว่าง 2 มหาสมุทรสำคัญของโลก เสมือนสะพาน แผ่นดินที่คั้นระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีภูมิอากาศชุ่มชื้น มีลมมรสุมพัดผ่าน ผ่านการเปลี่ยนแปลงของผืนแผ่น ทวีปมาช้านาน นำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้ง ในดิน หิน บนบกและในน้ำ ไม่ว่าจะเป็นแร่ธาตุและโลหะจึงเป็นสถานที่ ที่ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง“ทำเลทอง” ของทั้งโลกสืบต่อ มาในทุกยุคและสมัย ไม่ว่ามนุษย์และโลกจะวิวัฒน์พัฒนาการอย่างไร

ที่สำคัญคือ มีแต่เพียงทำเลเท่านั้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ สุวรรณภูมินี้เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นของดีมีค่าและเป็น ที่เสาะแสวงหาของผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกเสมอมา

เป็นย่านผ่านไปผ่านมาตั้งถิ่นฐานทำการค้า ก่อตัวของนานาเมือง นคร รัฐ และอาณาจักร
: ด้านการตั้งถิ่นฐาน และพัฒนาการของรัฐ

(Settlement and Polity Development)

สุวรรณภูมิซึ่งตั้งอยู่บนทำเลพิเศษเต็มไปด้วยของมีค่า จึงเป็นทั้งชุมทาง ย่านการค้า และชุมชนที่ผู้คนหลากหลายดินแดน ทั่วทุกทิศมาเสาะแสวงหาผลิตผลและผลิตภัณฑ์ และมีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นชุมทาง กระทั่งพัฒนาเป็นเมืองท่า และสถานการค้า ตามด้วยการก่อตั้งเป็นนคร รัฐ ถึงขณะนี้ มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจนพบว่ามี 2 อาณาบริเวณสำคัญ คือ เขาสามแก้วที่คอคอดกระ และที่สุไหงบาตูในลุ่มน้ำบูจัง กล่าวคือเขาสามแก้วนั้นเป็นเมืองท่าที่มีการพัฒนาอยู่บนเส้นทางสายไหมทะเล นับเป็นเมืองท่าแห่งแรกของทะเลจีนใต้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของโลกาภิวัตน์ จนอาจนับเป็นเมืองท่าแห่งแรกของทะเลจีนใต้ มีความเป็นมหานครที่ก่อรูปเริ่มแรกเป็นนครรัฐในระดับสากลมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 2–5

เป็นแดนแลกเปลี่ยนและสั่งสมวิทยาการเทคโนโลยี และการผลิตสำคัญของโลก
: ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิทยาการและการผลิต

(Science and Technology)

วิทยาการการเดินทางไกลทางทะเลของผู้คนทั้งที่อยู่และเดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิ นับเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งเสริมความเป็นสุวรรณภูมิ ในฐานะเมืองชุมทางย่านผ่านไปมาและชุมชนที่มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐาน เก็บเกี่ยวผลิ ตผลและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการจนกระทั่งพัฒนาเป็นเมืองท่า เป็นสถานีการค้า เป็นนคร ซึ่งมีสิ่งสนับ สนุนมากมาย และยังพบวิทยาการการตั้งถิ่นฐาน การจัดการพื้นที่ การเกษตรและกสิกรรม จากการขุดค้นศึกษาวิเคราะห์ล่าสุดทั้งที่เขาสามแก้วและสุไหงบาตูซึ่งก่อนกว่า กล่าวคือ เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่  2 เป็นต้นมา ล้วนแสดงถึงวิทยาการการตั้งถิ่นฐาน รวมทั้งวิทยาการหัตถอุตสาหการ เช่น การผลิตภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ จากดินเผา เหล็ก และสำริด การผลิตเครื่องประดับจากหิน แก้ว ทองคำ

เป็นชุมทาง และสถานีการค้าสำคัญของโลก
: ด้านการค้าขาย พาณิชยการ และบริการ

(Commercial, Trade and Services)

ดินแดนสุวรรณภูมิ อุดมด้วยผลิตผล และผลิตภัณฑ์อันเป็นสินค้าหายากและ สินค้าชั้นดี เป็นที่ต้องการของโลก ซึ่งจากหลักฐานบันทึก จดหมายเหตุต่างๆ ทั้ง ของจีน อินเดีย โดยเฉพาะกรีก โรมันและอาหรับ รวมทั้งจากผลการศึกษาค้นคว้า ทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงผลิตผลและผลิตภัณฑ์ใน ตลาดการค้าที่เกี่ยวเนื่องถึงกัน ตั้งแต่ที่มีถิ่นกำเนิดในดินแดนและที่ถูกนำมาซื้อหา ค้าขายแลกเปลี่ยนในดินแดนที่เรียกว่า Chryse Aurea สุวรรณภูมิ หรือ จินหลิน เป็นจำนวนมาก เช่น กระดองกระ กระดองเต่า ไม้กฤษณา หนังสัตว์ เขาสัตว์ กระดูกสัตว์ ซากสัตว์ ไหมดิบ เส้นไหม แร่ทอง แร่เงิน แร่ดีบุก และแร่สำคัญต่างๆ ส่งผลให้สุวรรณภูมิเข้าร่วมในเครือข่ายการค้าของโลกตั้งแต่ยุคโลหะ บนเส้นทางที่พาดผ่านจากทะเลแดงถึงทะเลจีนใต้ ในลักษณะค้าขายส่งต่อกันเป็นทอดๆ โดยไม่มีการเดินทางตลอดสายจากต้นทางถึงปลายทางสินค้าจากสุวรรณภูมิล้วนแต่เป็นของหรูหราและ ฟุ่มเฟือยมีราคา

เป็นอู่แห่งศิลปะ วัฒนธรรมและอารายธรรมที่ยิ่งใหญ่
: ด้านศิลปะและวัฒนธรรม

(Art Cultural and Civilization)

การเดินทางติดต่อปะทะสังสรรค์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้คน ชนชาติ มานานหลายพันปี ตั้งแต่สมัยหินและโลหะ จนเข้าสู่ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ มีภาษา อักขระ และจารึก การสื่อสาร และอาจมีจดหมายเหตุ ตามที่ระบุในพงศาวดารราชวงศ์เหลียง มีวิถีวัฒนธรรมการอยู่ร่วม ส่งเสริมสนับสนุน แลกเปลี่ยน เต็มไปด้วยความเป็นมิตรไมตรี พี่น้องเอื้ออาทร พร้อมต้อนรับผู้คน และเรียบรู้ระบบคุณค่าของศรัทธา ศาสนา และการจัดการบ้านเมืองอย่างเหมาะสม โดยมพีระพทุธศาสนาเป็นปฐมฐาน มีการผสมผสานการเป็นอยู่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ประดับประดาตกแต่งร่างกาย ตลอดจนการประดิษฐ์ ในเชิงศิลปะและความงาม ตลอดจนศิลปกรรมต่างๆ อันแสดงถึงวัฒนธรรมที่ดีงามมากมาย ดังหลายมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมที่ยังคงเหลือมาตั้งแต่เมื่อ 2,000 ปีก่อน อาทิ เครื่องใช้ชั้นสูง เครื่องสักการะบูชา เครื่องประดับสูงค่า จารึก เงินตรา และภาชนะต่างๆ เป็นต้น

คุณค่าแห่งความรุ่งเรือง

ของสุวรรณภูมิในศตวรรษที่ 21

การค้นหา “สุวรรณภูมิ” หรือ “สุวัณณภูมิ” แผ่นดินในเชิงนามธรรมแห่งความคิดที่มีความอุดมสมบูรณ์ร่ำรวยด้วย ทองคำและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ซึ่งปรากฏชื่ออยู่ในจารึกคัมภีร์เผยแผ่พุทธศาสนา จดหมายเหตุ เอกสารและแผนที่ โบราณของจีนและโรมันมากว่า 3,000 ปี

ในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงพระราชทานบทพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” และนามมงคล “สุวรรณภูมิ” เป็นชื่อท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ทำให้บทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงโลกของ “สุวรรณภูมิ” มาเป็นแรงบันดาลใจ ในการขยายคุณค่าสู่การเป็นประตูเชื่อมโลกและดินแดนหมุดหมายที่ผู้คนมากมายต้องการมาเยี่ยมเยือน รวมทั้งแนวคิดการ ค้นหาเมืองในเชิงนามธรรมสู่การสร้างแรงบันดาบาลใจ ซึ่งส่วนใหญ่มักเริ่มจากข้อมูลที่อยู่ในตำนานหรือแผนที่โบราณ นำไปสู่การสร้างแรงบันดาลใจ (inspiration) ในการค้นหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีต่าง ๆ