บทที่ 2

The expectation of the GISTDA

ความคาดหวัง

ที่มาและความสำคัญของ

“สุวรรณภูมิ”

สุวรรณภูมิ หรือ สุวัณณภูมิหมายถึง แผ่นดินแห่งทองคำที่ครอบคลุมดินแดน ตั้งแต่ส่วนที่อยู่เลยจากอินเดียมาจนจรดถึงจีน (Beyond India before China) เป็นพื้นที่ซึ่งปรากฏในเอกสารโบราณว่ามีมาตั้งแต่สมัยต้นพุทธกาล โดยมีผู้คน อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานแล้วพัฒนาเป็นรัฐอิสระในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดินแดนแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและเป็น แหล่งใหญ่ของสินค้ามีค่าซึ่งเป็นที่ต้องการของพ่อค้าทั่วไป ได้แก่ ทองคำ เครื่องเทศ ไม้มีค่าอัญมณีและของป่า มีผู้เดินทางมาค้าขายและอยู่อาศัย ทั้งพ่อค้า นักปกครอง นักเผชิญโชค ด้วยลักษณะทำเลที่ตั้ง ทำให้พื้นที่นี้เป็นทั้งอู่อารยธรรม และสะพานเชื่อมการค้า การเดินทางระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตกมา ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน และยังคงความสำคัญในบทบาทนี้ต่อเนื่องไปใน อนาคต

อ่านเพิ่มเติม

ความคาดหวัง

ในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองปีวัฒนธรรมอาเซียน 2562 บนพื้นฐานแห่ง ความมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมีพลวัตรอันเป็นเป้าหมายหลักของ อาเซียนโครงการสุวรรณภูมิ: ภูมิอารยธรรมเชื่อมโยงโลก จะเป็นวิวัฒนาการของ การเชื่อมโยงอัตลักษณ์ และคุณค่าแห่งวัฒนธรรมร่วมของอาเซียนเพื่อให้เกิด พลวัตในการพัฒนาเชื่อมโยงประชากรอาเซียนไปพร้อมกับMega Trend ของ โลกและยุทธศาสตร์การฟื้นความสำเร็จในประวัติศาสตร์ของประเทศจีนใน โครงการความร่วมมือตามแนวเส้นทางสายไหมเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก (Belt and Road Initiative) และก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ที่สมบูรณ์ที่ทุกคนมีความมั่นคงในความเป็นมนุษย์ เป็นสุขและมี อิสระที่จะเลือกใส่ความหมายให้กับตนเองได้

อ่านเพิ่มเติม

การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสุวรรณภูมิ

หลักฐานทางโบราณคดีที่พบใหม่

การศึกษาเกี่ยวกับสุวรรณภูมิได้เริ่มมา ตั้งแต่ประมาณ 160 ปีมาแล้วมีการกล่าวถึง สุวรรณภูมิอยู่มากมายในเอกสารของอินเดีย ในฐานะดินแดนที่พ่อค้าชาวอินเดียเดินเรือ มาค้าขายเป็นประจำ โดยการกล่าวอ้างถึง สุวรรณภูมิเป็นครั้งแรกปรากฏในเอกสาร ทางพุทธศาสนา ชื่อ มหานิเทศมีอายุราว 250 ปีก่อนคริสตศักราชโดยหมายถึง ดินแดน ที่อยู่ทางตะวันออกของอินเดีย

อ่านเพิ่มเติม

เหรียญทองคำโรมัน

การพบเหรียญทองคำโรมันที่บางกล้วยในจังหวัดระนอง ซึ่งเป็นเหรียญที่ผลิตขึ้นในโรมเมื่อ พ.ศ.629 การศึกษาแก้วโรมันที่พบในหลายพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าบริเวณปลายใต้สุดของ เมียนมาถึงชายฝั่งตะวันตกของคอคอดกระที่ภูเขาทอง และบางกล้วยในไทย อาจเป็นศูนย์กลางของสุวรรณภูมิ ในพุทธศตวรรษที่ 7 ก่อนที่จะมีการย้ายไปที่บางโร-นางย่อนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-12

ต่างหูทองคำสมัยศุงคะ

การค้นพบต่างหูทองคำสมัยศุงคะที่ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเมียนมาและวงแหวนสมัยโมริยะ-ศุงคะ ที่เขาสามแก้ว เป็นหลักฐานสำคัญแสดงถึงความศรัทธาต่อวัฒนธรรมอินเดียที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3-5 และแสดงถึงเครือข่ายการค้าขายทางไกลเมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว

อ่านเพิ่มเติม

แนวทางผลักดันสุวรรณภูมิ

สู่วัฒนธรรมร่วมแห่งอาเซียนในศตวรรษที่ 21

ยุทธศาสตร์การสร้าง “สุวรรณภูมิ” แผ่นดินในเชิงนามธรรมแห่งความคิดที่มีความอุดมสมบูรณ์ร่ำรวยด้วยทองคำ ทรัพยากรธรรมชาติและฐานรากวัฒนธรรมที่สำคัญ ซึ่งปรากฏชื่ออยู่ในจารึก เอกสารและแผนที่โบราณมากว่า 3,000 ปี สู่การเป็น “วิถีแห่งอาเซียน” ในครั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์โลกเสมือนจริง (virtual world) บนความเป็นจริง (reality) ภายใต้ แนวโน้มใหญ่ของโลก (Mega Trend) เพื่อสร้างอัตลักษณ์แห่งวัฒนธรรมร่วมของอาเซียนทั้งในด้านประชากร เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมสู่ความเป็นคุณค่าร่วม (shared value) ที่พร้อมต่อการเชื่อมโยงโลกในศตวรรษที่ 21 มีกรอบแนวคิด และขั้นตอน

ความท้าทายของ “สุวรรณภูมิ” ในกระแสแรงโน้มถ่วง
ทางเศรษฐกิจวัฒนธรรมโลก ค.ศ. 2050

ปัจจัยสำคัญในการสร้าง “วัฒนธรรมร่วม” บนพื้นฐานของการชื่นชมคุณค่าของวัฒนธรรมพื้นถิ่นและวิถีการหลอมรวมเพื่อเชื่อมโยงจากแก่นล่างไปสู่ระดับภูมิภาค (Local to Regional) และระดับโลก (Global) คือ ความสามารถในการคาดการณ์สถานการณ์ด้านต่างๆ ของโลก (The World Foresight) เช่น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก ภาพรวมของประชากร สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี รวมทั้งปัจจัยแรงดึงดูดและแรงเหวี่ยงด้านเศรษฐกิจวัฒนธรรมของโลก (The World Centripetal and Centrifugal Forces)

อ่านเพิ่มเติม

ข้อได้เปรียบของ “สุวรรณภูมิ” บนเครือข่ายเชื่อมโลก

ตำแหน่งที่ตั้งของ “สุวรรณภูมิ” ซึ่งขนาบด้วยสองมหาสมุทร คือ มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทร อินเดียนั้น เป็นจุดผ่านของเส้นทางการค้าโลกมาตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ในบริบทการพัฒนาของโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เทคโนโลยี รูปแบบการค้า การลงทุนและการเดินทาง มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล ทำให้สุวรรณภูมิซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางการเชื่อมโยงทั้งทางบก ทางทะเลและทางอากาศได้รับผลกระทบอย่างมาก อย่างไรก็ตามด้วยตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่บนจุดกลางระหว่างจีนและอินเดีย (Beyond India, Before China) ซึ่งเป็นแหล่งประชากรและแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลก ส่งผลให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางการค้า ศาสนาและวัฒนธรรมเชื่อมโยงกันทั้งในระดับพื้นที่และระดับภูมิภาคตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม

“สุวรรณภูมิ” ก้าวต่อไปของอาเซียน

ภายใต้บริบทการเชื่อมโยงกันของประเทศต่างๆ ในโลก ทำให้เกิดแรงดึงดูดและศูนย์กลางใหม่ๆ ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (Disruptive Technology) ทำให้ปัจจัยด้านแรงงาน วัตถุดิบหรือระยะทางในการขนส่งไม่ใช่ปัจจัยหลักในการตัดสินใจของ ผู้ประกอบการอีกต่อไป ในขณะเดียวกันความสามารถในการวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคจาก Big Data ก็ทำให้การผลิตสินค้าจำเป็นต้องเพิ่มคุณค่าที่มากกว่าความต้องการระดับพื้นฐานทั่วไป

อ่านเพิ่มเติม

บริบทของการสร้างคุณค่า “สุวรรณภูมิ”
เมืองที่ค้นพบในเชิงนามธรรมสู่การสร้างแรงบันดาลใจ

การนำเทคโนโลยีเชิงพื้นที่และภาพถ่ายดาวเทียมมาช่วยในการตามรอยและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ดินแดนสุวรรณภูมิร่วมกัน เพื่อสร้างความรู้สึกในการเป็นภูมิภาค (Regional Policies) และทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการร่วมกันพัฒนานวัตกรรมทางวัฒนธรรมเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Cultural Innovation Economy) เพื่อสร้างคุณค่าเชิงวัฒนธรรมร่วมกันในดินแดนสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi’s Value Creation) ให้เป็นจุดขายจากระดับภูมิภาคสู่ระดับโลก (Local to Global) มีหลายแนวทางที่สามารถพัฒนาได้

อ่านเพิ่มเติม

แนวทางสร้างความร่วมมือ 5 ชาติสุวรรณภูมิ วัฒนธรรมร่วม

แห่งอาเซียนในศตวรรษที่ 21

อินเดีย ไทย พม่า อินโดนีเซีย และจีน ควรเปิดหารือจัดตั้งโครงการความร่วมมือด้านวัฒนธรรมสุวรรณภูมิ เพื่อเป็นอีก “ทางเสริม” บนโครงการเส้นทางสายไหมใหม่ของจีน การเปิดเจรจาในขั้นเริ่มแรก ถึงความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกันจัดทำ โครงการโครงสร้างระดับภูมิภาค ในความพยายามที่จะเสริมการขยายอิทธิพลของจีน ผ่านทางโครงการเส้นทางสายไหมใหม่ อย่างจริงจัง เรียกแผนการนี้ว่าเป็น "แผนวัฒนธรรม" เสริมโครงการเส้นทางสายไหมใหม่จีน โดยจีนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่าเรือที่ยังไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากนัก ประเทศ อื่นๆ อาจเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับท่าเรือนั้น ด้วยการสร้าง "ถนนวัฒนธรรม" หรือ "ทางรถไฟสายวัฒนธรรม"เชื่อมต่อกับท่าเรือ กลยุทธ์อินโดแปซิฟิก ที่เปิดกว้างและมีเสรี รวมถึง โครงสร้างพื้นฐาน จะเป็นสิ่งที่มาเสริมโครงการเส้นทางสายไหมใหม่ของจีน และของเส้นทางสุวรรณภูมิ

อ่านเพิ่มเติม