(ตอนที่ 1) ความเชื่อมโยงของเส้นทางสายไหมโบราณสู่ความรุ่งเรืองในสุวรรณภูมิ ประเทศจีน


(ตอนที่ 1) ความเชื่อมโยงของเส้นทางสายไหมโบราณสู่ความรุ่งเรืองในสุวรรณภูมิ ประเทศจีน

ความเชื่อมโยงของเส้นทางสายไหมโบราณในประเทศจีน (เมืองซีอาน ถึง เมืองตุนหวง) เมืองซีอาน

เมืองซีอาน พบหลักฐานการแลกเปลี่ยนสินค้า ศาสนา และวัฒนธรรม ณ เมืองซีอาน อาทิ หอระฆังและหอกลอง เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองของเมืองซีอาน และเป็นหอระฆัง-หอกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและรักษาไว้สมบูรณ์แบบที่สุดของจีนโบราณที่สืบทอดจนถึงปัจจุบัน ถนนมุสลิม เป็นแหล่งรวบรวมสินค้าของบรรดาพ่อค้าชาวอาหรับและชาวเปอร์เซีย และการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม ในสมัยอดีต

ซึ่งปัจจุบันยังสามารถคงเอกลักษณ์ของถนนมุสลิมไว้ได้ โดยบรรดาพ่อค้าในอดีตที่มาติดต่อค้าขายกับประเทศจีน ผ่านเส้นทางสายไหมทางบกโบราณ โดยเมืองนี้เป็นเมืองต้นทางของเส้นทางสายไหมทางบกหรือเป็นต้นทางส่งสินค้าจากจีนออกสู่ยุโรป หรือโลกตะวันตก

โดยหากพิจารณาไปตามเส้นทางจะสามารถพบแหล่งโบราณสถานที่สำคัญทั้งทางด้านการค้าขาย และพุทธศาสนา อาทิ ถ้ำหินสลักหินม่ายจีซาน ในเมืองเทียนสุ่ย ซึ่งเป็นประติมากรรมทางพุทธศาสนาที่มีอายุประมาณ 1,600 ปีมาแล้ว โดยสร้างขึ้นสมัยราชวงศ์ถัง และได้มีการบูรณะในสมัยราชวงศ์ซ่ง และราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นศูนย์รวมของพุทธศาสนา 3 นิกาย ได้แก่ ฮั่นเฉิน มหายาน และหินยาน  (รวมทั้งในวรรณกรรมจีนอมตะอย่างไซอิ๋ว ซึ่งกล่าวถึงการเดินทางจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปยังชมพูทวีป (อินเดีย) เพื่ออัญเชิญคัมภีร์พระพุทธศาสนาของหลวงจีนชื่อ พระถังซำจั๋ง (อ้างอิงจากผู้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ มีนามว่าพระเสวียนจั้ง) โดยหลักฐานภาพจิตรกรรมฝาฝนังตุนหวง พระเสวียนจั้ง เดินทางมีสัมภาระจูงเสือเดินทางไปด้วยและตามหลักฐานมีเส้นทางผ่านสำคัญใกล้เคียงกับเส้นทางการค้าของจีนไปยุโรป และแอฟริกา ซึ่งมีการสร้างอนุสรณ์สถานไว้ของพระเสวียนจั้งในเมืองหลานโจวปัจจุบัน

นอกจากนี้ทีมงานยังพบหลักฐานการการเผยแผ่ศาสนาจากอินเดียเข้าสู่เมืองฉางอันในอดีต ณ วัดจิวหมอหลอสือ เมืองจางเย่ โดยการก่อสร้างวัดแห่งนี้ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนามาจากมิชชันนารีที่เดินทางมาผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งพระกุมารชีวะได้มีโอกาส ศึกษาภาษาจีนอย่างแตกฉานและแปลพระธรรมคัมภีร์ ภายหลังได้รับการอัญเชิญไปยังนครฉางอาน ดำรงตำแหน่ง “กว๋อซือ” หรือ “พระราชครู” เป็นหัวหน้าคณะแปลพระธรรมคัมภีร์ สิ่งสำคัญที่วัด แห่งนี้คือ เจดีย์พระกุมารชีวะ รูปทรง 8 เหลี่ยม 12 ชั้น สูง 32 เมตร โดยบรรจุสารีริกธาตุของพระกุมารชีวะ ไว้บนยอดเจดีย์

(ติดตามต่อในตอนที่ 2)