(ตอนที่ 3) ความเชื่อมโยงของเส้นทางสายไหมโบราณสู่ความรุ่งเรืองในสุวรรณภูมิ ประเทศจีน


(ตอนที่ 3) ความเชื่อมโยงของเส้นทางสายไหมโบราณสู่ความรุ่งเรืองในสุวรรณภูมิ ประเทศจีน

ความเชื่อมโยงของเส้นทางสายไหมโบราณในประเทศจีน (เมืองซีอาน ถึง เมืองตุนหวง)

ด่านบนเส้นทางสายไหม

ในการเดินทางเข้าออกในแต่ละเมืองนั้น มีความจำเป็นที่ต้องผ่านด่านต่างๆของแต่ละเมือง
โดยพบหลักฐานที่สำคัญของประตู หรือด่านคัดกรองประชากรเข้า-ออกเมือง 2 แห่งได้แก่ ด่านเจียยวี่กวน เมืองเจียยวี่กวน ซึ่งเป็นป้อมปราการบนกำแพงเมืองจีนทางฝั่งทิศตะวันตก สร้างขึ้นเมื่อราว ปี ค.ศ. 1368 ที่นี่เป็นด่านสำคัญของการเข้า-ออก เมืองจีนในยุคโบราณบนเส้นทางสายไหม ซึ่งถือเป็นเส้นทางการค้าที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเส้นหนึ่ง ด่านนี้ยังเป็นแนวกำแพงนี้เชื่อมต่อไปถึงกำแพงเมืองจีนที่ปักกิ่ง โดยด่านเจียยวี่กวนนั้นตั้งอยู่ในที่ราบหุบเขา แถบทะเลทรายโกบี จึงเหมือนเป็นเส้นทางเปิดออกสู่เส้นทางสายไหมที่นักเดินทางจะต้องผ่านเข้าออกในเวลานั้น

และบริเวณด่านสุดท้ายของประเทศจีนสมัยโบราณ คือ เมืองตุนหวง  ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกของมณฑลกานซู ประเทศจีน โดยมีลักษณะภูมิประเทศเป็นทะเลทราย และมีเขาหมิงซาซาน ที่มีบทบาทเป็นเมืองต้นทางของเดินทางการค้าขายไปยุโรปในอดีต และเป็นสถานที่ที่มีทะเลสาบพระจันทร์เสี้ยว จึงทำให้เป็นจุดแวะพักของคาราวานพ่อค้า ที่จะเดินทางค้าขายผ่านเส้นทางนี้ นอกจากนี้เมืองตุนหวงเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเส้นทางเหนือ กับเส้นทางใต้ จากเมืองซินเจียง ก่อนเดินทางเข้าสู่เมืองซีอาน โดยมีอายุของสถานที่อยู่ในช่วง 3,000 ปีมาแล้ว

และในปัจจุบันรัฐบาลจีนได้ดำเนินการพัฒนาสถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยเสริมสร้างความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ของสถานที่เข้ามาแทรกอยู่ในระหว่างกิจกรรมที่ได้จัดขึ้นโดยใช้ลักษณะภูมิประเทศที่มีเอกลักษณ์มาเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยมีการจำลองอาคารโบราณที่แสดงถึงจุดพักสินค้า พักค้างแรมของพ่อค้าในสมัยโบราณ บริเวณใกล้ทะเลสาบพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นทะเลสาบแห่งเดียวในบริเวณทะเลทรายหมิงซาซาน โดยจัดเป็นสถานที่จัดแสดงหลักฐานที่ขุดพบในพื้นที่โดยรอบของทะเลสาบดังกล่าว เช่น ซากกระเบื้องโบราณต่างๆ เศษเหรียญโบราณ และเอกสารบันทึกโบราณ

(ติดตามต่อในตอนที่ 4)